สารเสพติด มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภทของสารเสพติด แบ่งได้ 4 วิธี คือ

1. แบ่งตามแหล่งกำเนิด                                                                                                                                                                        2. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
3. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
4. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก

กฎหมายประเทศไทยยึดการกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยแบ่งสารเสพติดให้โทษ เป็น 5 ประเภท ดังนี้


                  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1                             ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน             หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ 

 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 

ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์    ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณี               ที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน               โคเคอีน และเมทาโดน 

                  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3                     ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน             ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น 

                 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4                  คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และอะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูโดอีเฟดรีน สามารถใช้ในการผลิต           ยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด              ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ 

                   ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5   

เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1               ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืช              กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น