บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่  ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และน้ำยา ถ้ากล่าวถึงเฉพาะส่วนของน้ำยาที่จะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบจะประกอบด้วยสารประกอบหลัก ๆ คือ  


บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายหรือไม่?

สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่พบในน้ำยาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น


เทียบกับบุหรี่ธรรมดาแล้วบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าหรือน้อยกว่า?

เป็นความจริงที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัวเช่นน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  แต่จากที่กล่าวมาข้างต้นสารประกอบอื่น ๆ ที่พบในบุหรี่ไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่ระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้  มีภาษิตฝรั่งบทหนึ่งกล่าวว่า “ผีที่รู้จักก็ยังดีกว่าผีที่ไม่รู้จัก” เรารู้จักบุหรี่ธรรมดากันมานานมากแล้ว มีการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายของมันอย่างแทบจะทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงทำให้เราตระหนักในโทษภัย และเฝ้าระวังมันได้อย่างดี แต่ด้วยความที่บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นของใหม่มาก เรายังไม่มีข้อมูลวิจัยที่มากพอที่จะระบุถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละตัวในบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ใช้ไปนาน ๆ ในระยะยาว ๆ ซึ่งการที่ยังไม่มีข้อมูลว่าอันตรายไม่ใช่แปลว่าไม่มีอันตราย เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังต้องมีหน้าที่ที่จะต้องติดตามศึกษากันต่อไป


บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดหรือไม่?

แน่นอนว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด ดังนั้นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงทำให้ผู้สูบ “ติด” ได้ไม่ต่างจากบุหรี่ธรรมดา นอกจากนี้รูปแบบและขั้นตอนในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีความใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ธรรมดามาก ทำให้ผู้สูบยังคงติดในพฤติกรรมการสูบเหมือนบุหรี่ธรรมดา  หากสังเกตในต่างประเทศจะพบว่า โฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณะการใช้ข้อความจูงใจหรือจุดขายไม่ต่างไปจากบุหรี่ธรรมดา เช่น การเพิ่มเสน่ห์ในทางเพศ ทำให้อารมณ์ดี ซึ่งส่งผลในทางจิตวิทยาให้ผู้สูบมีความเชื่อ ฝังใจในคุณสมบัติเหล่านั้นและดำรงพฤติกรรมการสูบมาเรื่อย ๆ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโฆษณาของบุหรี่ไฟฟ้ายังเน้นถึงข้อดีบางอย่างที่เหนือกว่าบุหรี่ เช่น การมีรสชาติที่หลากหลายกว่า ดีต่อสุขภาพมากกว่า มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยและหลากหลายกว่า ไม่มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าจุดขายเหล่านี้ย่อมดึงดูดและทำให้ผู้สูบมีแนวโน้มที่จะติดกับการสูบได้มากขึ้นด้วย


ถ้าอยากเลิกบุหรี่ธรรมดา การหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยได้หรือไม่?

จุดขายอย่างหนึ่งของบริษัทบุหรี่ไฟฟ้า คือ การพยายามนำเสนอว่า การหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ธรรมดา ซึ่งถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากกว่า  โดยหยิบยกงานวิจัยต่าง ๆ ที่ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่า และทำให้ผู้สูบลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงได้ ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ภายหลังได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการในวงกว้างแล้วพบว่า เป็นงานวิจัยที่ไม่ได้ทำตามระเบียบวิธีการวิจัยอย่างถูกต้อง มีอคติ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ทำการวิจัยที่ชัดเจน จึงไม่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการอีกต่อไป
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากกว่าที่ทำอย่างถูกต้อง และให้ผลสรุปในทางตรงกันข้าม คือ การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงเลย ร้ายไปกว่านั้นยังทำให้อัตราการสูบบุหรี่โดยรวมทั้งธรรมดาและไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นไปอีก โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่มีนิโคตินเหมือน ๆ กัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่สูบบุหรี่ (ไม่ว่าจะเริ่มจากชนิดไหน) ท้ายที่สุดก็จะมีการแลกเปลี่ยน ทดลองกันภายในกลุ่มจนคุ้นเคยกับทุก ๆ รูปแบบ เพราะเป็นสิ่งที่ทดแทนกันได้ ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศห้ามอย่างเป็นทางการมิให้บริษัทบุหรี่โฆษณาว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ธรรมดาได้ เพราะขัดกับข้อมูลจากการวิจัยอย่างชัดเจน 


บุหรี่ไฟฟ้าผิดตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร?

ขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้าม บุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในความครอบครอง ถือว่ามีความความผิดทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้ใช้ เมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นความผิดซึ่งหน้าสามารถเข้าจับกุมได้  กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ